คู่มือชาวรีโนเวท ตรวจบ้าน/ซ่อมบ้านยังไงไม่ให้งบบานปลาย

การซื้อบ้านมือสองแล้วจึงค่อยนำมารีโนเวทใหม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะหลาย ๆ เคสได้ราคาที่ถูกกว่าซื้อบ้านเดี่ยวหลายเท่า สำหรับคนที่สนใจสามารถทำได้โดยการทำการบ้านให้เยอะ ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการตรวจบ้านมือสองก่อนรีโนเวทและการคุมงบซ่อมบ้าน เรามาดูกันว่าควรทำบ้านอย่างไรไม่ให้บานปลายจนเข้าเนื้อ

ตรวจบ้านมือสองก่อนรีโนเวทจำเป็นแค่ไหน?

จุดประสงค์ของการตรวจบ้านก่อนทำบ้าน โดยปกติแล้วเราทำเพื่อประเมินค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเบื้องต้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือทำเพื่อประเมินว่าบ้านมือสองของเราพร้อมสำหรับการรีโนเวท ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน ฉะนั้นขั้นตอนนี้จึงสำคัญและไม่ควรมองข้าม จุดที่ควรใส่ใจตรวจสอบจะมีอะไรบ้างลองดูในเช็กลิสต์ถัดไป


เช็กลิสต์ตรวจสอบบ้านมือสอง

โดยปกติแล้วก่อนจะซ่อมบ้านเราต้องตรวจบ้านเพื่อเช็กสภาพทั้งภายนอกและภายในบ้าน เราขอแนะนำ 5 จุดที่ควรใส่ใจ ดังนี้

  1. ตรวจงานนอกบ้าน ขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบทั้งสภาพแวดล้อมและความแข็งแรงภายในบริเวณบ้าน เช่น รั้ว ประตูรั้ว สภาพพื้นดินรอบบ้าน คอนกรีตของตัวบ้านว่ามีรอยร้าวมากน้อยเพียงใด หรือมีต้นไม้ใหญ่บริเวณบ้านหรือไม่ เพราะอาจก่อความเสียหายหรือสร้างความรำคาญในภายหลัง
  2. ตรวจการระบายน้ำ ควรเช็กตามจุดต่าง ๆ เพื่อดูว่ามีตรงจุดไหนที่เกิดน้ำขังได้ง่าย เช่น หากบ้านมีพื้นที่ต่ำกว่าถนนหรือต่ำกว่าบ้านข้าง ๆ เวลาฝนตกอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขัง และมีโอกาสที่ตอนน้ำท่วมจะพัดพาเศษขยะเข้ามาในบ้าน สามารถตรวจสอบง่าย ๆ คือการเปิดน้ำทิ้งไว้รอบบ้านเพื่อเช็กดูว่าน้ำมีการระบายไปในทิศทางใด รางน้ำหรือรูระบายน้ำใช้งานได้ปกติดีหรือไม่
  3. ตรวจระบบต่าง ๆ ภายในตัวบ้าน ขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจระบบไฟและระบบน้ำของบ้าน
  • การตรวจระบบไฟ เช็กได้ด้วยการใช้งานไฟในตัวบ้าน ลองกดเปิด-ปิดสวิตช์ไฟ เสียบปลั๊กที่เต้าเสียบในบ้านเพื่อดูว่าไฟเข้าไหม หรือเสียบยากหรือหลวมเกินไปไหม ตรวจการเดินสายไฟและดูรอยดำ/รอยไหม้ในบริเวณระบบไฟฟ้า
  • การตรวจระบบน้ำ เบื้องต้นให้เปิดเช็กน้ำทุกจุดว่าน้ำสามารถไหลได้ดีไหมและให้คอยสังเกตว่ามีความสม่ำเสมอในการไหลหรือไม่ หรือตรวจสอบการระบายน้ำของสุขภัณฑ์ว่าสามารถจัดการน้ำล้นได้ดีไหม และเช็กเรื่องท่อน้ำว่ามีจุดที่รั่วไหลหรือไม่
  1. ตรวจแมลงหรือสัตว์รบกวนรอบบ้าน ก่อนที่จะได้ซ่อมบ้าน ปลวกคือศัตรูตัวฉกาจของเรา บ้านมือสองอาจมีแมลงรอบบ้านและสัตว์รบกวนอื่น ๆ ได้ หากไม่แก้ไขปัญหานี้ก็อาจทำให้เกิดปัญหาระยะยาวของบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์เสียหาย หรือบ้านอาจผุพังได้
  2. ตรวจโครงสร้างภายในบ้าน สามารถเช็กได้ตามจุดต่าง ๆ เช่น เสา คาน บันได ผนัง หรือกระเบื้องหลังคามีรอยแตกร้าวหรือไม่ เชื้อราบนฝ้าเพดานและพื้นของบ้าน ควรเช็กให้ละเอียดว่ามีการผุพังมากน้อยเพียงใด

เมื่อตรวจบ้านเรียบร้อย เราจะพาไปต่อกันที่ซ่อมบ้านอย่างไร? ให้งบไม่บานปลาย มาดูกันเลย

 ซ่อมบ้านงบไม่บานปลาย สบายเงินในกระเป๋า!

หลายสิ่งที่ทุกคนอาจกังวลเกี่ยวกับการรีโนเวทคือเรื่อง งบประมาณในการซ่อมบ้าน และนี่คือ 4 วิธีช่วยวางแผนก่อนตัดสินใจทำบ้าน ให้คุณได้เตรียมการรีโนเวทบ้านได้อย่างสบายใจและอยู่ในงบที่คุณกำหนดไว้

  1. จัดลำดับความสำคัญของพื้นที่  ให้ดูว่าพื้นที่ใดในบ้านจำเป็นที่จะต้องรีโนเวทก่อน โดยอาจเลือกพื้นที่ที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัยเป็นหลักไว้ก่อน
  2. กำหนดงบประมาณ ให้ตั้งงบประมาณตามความเป็นจริงว่าสามารถจ่ายตรงนี้ได้ และจัดสรรกลุ่มเงินให้เพียงพอของแต่ละพื้นที่ที่ต้องการทำบ้าน โดยขั้นตอนนี้อาจปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ ช่าง หรือกับผู้รับเหมาถึงต้นทุนที่กำลังจะเกิดขึ้นก่อน เพื่อความแม่นยำในการควบคุมให้อยู่ภายใต้งบที่คุณกำหนดไว้
  3. จ้างผู้เชี่ยวชาญ งานช่างมีหลายแขนง ช่างแต่ละคนก็มีความถนัดในงานของตัวเอง งานบางงานจำเป็นต้องใช้ช่างที่มีความรู้ มีประสบการณ์ หากซ่อมเองหรือจ้างช่างที่ไม่มีความเชี่ยวชาญอาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ได้
  4. เตรียมงบเผื่อฉุกเฉิน การรีโนเวทบ้านอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อไม่ให้ส่งผลต่องบที่คุณกำหนดไว้ เราขอแนะนำให้คุณสำรองเงินฉุกเฉินไว้ประมาณ 10-30% จากงบประมาณข้างต้น มีเหลือไว้ดีกว่าขาดแน่นอน

จะเห็นได้ว่าการรีโนเวท/ซ่อมบ้านมือสองไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะการเช็กตัวบ้านนั้นทำได้ง่าย ๆ เพียงคุณเป็นคนช่างสังเกต พยายามตั้งข้อสงสัยและใช้สายตามองทุกจุดให้ทั่ว และคุณยังสามารถกำหนดงบประมาณการทำบ้านได้ตามความเหมาะสมและความสามารถของตัวเองเมื่อรู้การวางแผนที่มีคุณภาพ

 หากใครที่กำลังหาบ้านมือสองและต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ Chewa Renue ใส่ใจคุณภาพ พร้อมให้คำปรึกษาด้านสินเชื่อจากทีมงานมืออาชีพ อยากมีบ้าน เราพร้อมดูแลทุกขั้นตอน เพียงติดต่อมาหาเราที่…

Messenger: m.me/CHEWA.RENUE

LINE : @Chewa.renue

หรือคลิก : https://lin.ee/SabzYng

related articles

Compare listings

Compare
en_USEnglish