“ดูก่อน ตัดสินใจ” 8 จุดบ้านพัง ต้องรู้ก่อนซื้อบ้านมือ 2

“ดูก่อน ตัดสินใจ” 8 จุดบ้านพัง ต้องรู้ก่อนซื้อบ้านมือ 2
….จะซื้อบ้านมือ 2 ต้องดูให้ดี จุดสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลต่อค่าปรับปรุงซ่อมแซม จะแฮปปี้หรือมีน้ำตา ก็วัดกันที่ตรงนี้แหละจ้า มาดูกันดีกว่าว่า 8 จุดที่ว่ามีอะไรบ้าง
.
1. ดินรอบบ้านทรุด
….ปัญหาสุดคลาสสิก สำหรับบ้านเดี่ยว/บ้านแฝด ที่หลาย ๆ คนมักจะกลัวปัญหานี้กันเป็นเพราะว่าเป็นปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนและเป็นวงกว้างรอบบ้าน แต่แท้จริงแล้วปัญญานี้กลับแก้ไขได้ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ
….วิธีสังเกตให้ดูรอยดินหรือรอยสีภายนอกรอบตัวบ้าน จะมีจุดสังเกตคือร่องรอยคราบดินหรือรอยสีที่แตกต่างกันจนสังเกตได้ ว่าพื้นดินได้ทรุดตัวลงไปมากแค่ไหน โดยทั่วไปการทรุดเต็มที่จะไม่เกิน 20 เซนติเมตร ซึ่งจุดที่ต้องระวังคือ การทรุดจนเห็นแนวท่อน้ำดี แล้วส่งผลให้แนวท่อโดนอะไรกดทับ เสี่ยงต่อการแตกหักหรือเสียหาย จุดที่ต้องเช็คต่อไปคือบริเวณบ่อน้ำเสีย บ่อดักไขมัน ว่ายังปกติดีอยู่ไหมจากการทรุดตัวดังกล่าว
.
2. ผนังรั่วซึม
….ผนังรั่วซึม พบเจอได้เยอะมาก ตามมุมของหน้าต่าง โดยปกติแล้วผนังบ้านจะมีจุดอ่อนแอต่อการรั่วซึมที่มุมทั้ง 4 ของเฟรมหน้าต่าง และน้ำจะซึมง่ายที่สุดคือขอบหน้าต่างด้านล่าง ซึ่งปัจจุบันนี้หน้าต่างมักจะใช้เป็นเฟรมอลูมิเนียมอบขาว เป็นบานสไลด์ ถ้าหากรูระบายน้ำของรางตัน มีโอกาสมากที่น้ำจะค่อย ๆ ซึมผ่านตามรูยึดเฟรม เข้าไปบนอิฐกำแพงที่ก่อได้ ส่งผลให้เกิดความชื้นตามมา
….วิธีสังเกต เรามักจะเห็นคราบน้ำได้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่บางหลังที่ติด wall paper อาจจะต้องลอก wall paper ออกมาจึงจะสามารถเห็นรอยดังกล่าวได้
.
3. พื้นโรงจอดรถ
….พื้นโรงจอดรถของบ้านส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ทำคานเสริมเพื่อรับน้ำหนักและเฉลี่ยน้ำหนัก ทำให้เมื่อผ่านการใช้งานไปสักระยะก็จะส่งผลให้พื้นเกิดการทรุดตัวลงมา
….วิธีสังเกต ให้ดูแนวโรงจอดรถ มักจะมีเสาโครงสร้างตัวบ้านอยู่โดยรอบ บริเวณใกล้เสานั้นมักจะไม่ค่อยทรุด เพราะน้ำหนักที่กระจายไปจะกระจายไปสู่แนวคาน กับเสาเข็มของตัวบ้านช่วยพยุง แต่ตรงกลางมักจะแอ่นเป็นท้องช้างเพราะต้องรับน้ำหนักของรถอยู่เสมอ อีกทั้งยังไม่มีคานมาคอยรับแรงและกระจายแรงกดอีกด้วย
.
4. ระบบน้ำ
….ต้องตรวจเช็คให้ดี ทั้งระบบน้ำดี และน้ำเสีย สำหรับบ้านที่ไม่มีคนอยู่ มักจะมีปัญหาเรื่องระบบน้ำดี เพราะหากไม่ถูกใช้น้ำระยะเวลานึง อาจส่งผลให้ท่อเปราะลง เวลาติดตั้งปั๊มแล้วเปิดใช้งาน แรงดันของน้ำอาจทำให้ท่อน้ำแตก เพราะทนแรงดันไม่ได้เหมือนเดิมแล้ว
….วิธีสังเกต ในส่วนระบบน้ำเสีย หรือ floor drain เราสามารถสังเกตได้จาก รอยน้ำซึมตามฝ้าชั้น 1 หรือถ้าเป็น floor drain ตามระเบียง ให้ดูฝ้านอกบ้าน ส่วนระบบน้ำดี ให้สังเกตจากการหมุนของมิเตอร์น้ำ หากปิดน้ำแล้วมิเตอร์หมุน ก็แสดงว่ามีการรั่วแน่นอน
.
5. หลังคาบ้านเดิม
….ตรวจดูว่าหลังคามีการรั่วซึมหรือไม่ เพราะค่าใช้จ่ายของการทำหลังคา นับเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ๆ ของการซ่อมบ้านเลยทีเดียว ซึ่งเราไม่ต้องปีนขึ้นไปดูบนหลังคา ก็สามารถรู้ได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
….วิธีการสังเกต หลังคาบ้านสามารถดูได้จากรอยชื้นของฝ้า ชั้นบนของบ้าน และจุดที่ควรต้องสังเกตอีกจุดหนึ่งคือจุดรวมน้ำฝนของหลังคาบ้าน สำหรับบางบ้านที่ทำหลังคาแบบจั่วซ้อนกัน อาจมีจุดที่น้ำฝนมารวมตัวกันแล้วปล่อยไหลลงมาหน้าบ้าน ซึ่งบ้านแบบแนวน้ำไหลอาจไม่พ้นขอบระเบียงหรือขอบบัว เราสามารถสังเกตจากรอยน้ำ รอยตะไคร่ได้
.
6. หลังคาส่วนต่อเติม
….หลังคาต่อเติมให้สังเกตการรั่วซึม ตามขอบต่าง ๆ หรือแนวโครงหลังคาว่าเป็นจุดที่จะทำให้น้ำย้อนเข้าบ้านได้หรือไม่
….วิธีการสังเกต ให้ดูรอยคราบน้ำ ตรงขอบตัวบ้านใต้หลังคา ถ้ามีการเก็บแนว flashing ไม่ดี จะเห็นรอยน้ำได้ชัดเจน หรือมีการรั่วตามหัว screw ที่ยิงยึดแผ่นหลังคากับโครงหลังคา เราจะดูได้จากความชื้นที่เกิดขึ้นเป็นจุด ๆ วง ๆ ด้านใต้หัว screw เหล่านั้น
.
7. ส่วนต่อเติมที่เป็นห้อง
….บ้านที่มีห้องที่ต่อเติมเพิ่ม นับว่าเป็นกำไรสำหรับผู้ซื้อ เพราะจะได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติม แต่ในทางกลับกัน ถ้าห้องนั้นออกแบบต่อเติมมาผิด spec จะกลายเป็นบาดแผลกับผู้ซื้อทันที เพราะการซ่อมแซมทำได้ยาก และการจะรื้อทิ้งก็ทำให้เสียค่าใช้จ่ายที่สูงอีกด้วย
….วิธีสังเกตห้องที่ต่อเติม ถ้าพื้นทรุด แสดงว่าการออกแบบการรับน้ำหนักของพื้นห้องทำผิดวิธี ถ้ามีรอยแยกของเสาอาจเป็นที่น้ำหนักของหลังคามากเกินไป หรือเข็มรับน้ำหนักของปลายหลังคาสั้นเกินไป
.
8. กระเบื้องร่อน
….บ้านที่มีคนอยู่อาศัยอยู่ตลอดส่วนมากจะไม่ค่อยเจอปัญหานี้ เพราะการที่มีคนอยู่จะทำให้อากาศไม่อบในบ้าน โอกาสที่พื้นกระเบื้องร่อนจะเป็นไปได้ยาก ต่างจากบ้านที่ไม่มีคนอยู่บ้านจะถูกปิดอยู่ตลอดทำให้อากาศร้อนอบ พอช่วงหน้าฝนความชื้นจากด้านล่างของตัวบ้านจะทำให้ปูนกาวชื้นและหดตัว หากมีการปูกระเบื้องที่ไม่ดีพอกระเบื้องจะเริ่มหลุดร่อนออกมาได้
….วิธีสังเกต ให้ลองเดินแบบถอดรองเท้า จะใช้ส้นเท้าหรืออุ้งเท้าลงน้ำหนักดูก็ได้ หากกระเบื้องร่อนแรงสะท้อนที่เท้าเราได้รับจะแตกต่างจากพื้นกระเบื้องที่ไม่มีปัญหา หรือหากบ้านไหนที่มีคนอยู่แต่มีการจัดวางเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของไว้ในตำแหน่งแปลก ๆ อาจตั้งข้อสงสัยไว้ได้ก่อนเลยว่าเป็นการเอาของมาวางทับกระเบื้องที่มีการร่อนอยู่ก็เป็นได้
….
 Chewa Renue pays attention to quality, ready to provide credit advice from a professional team. If you want to have a home, we are ready to take care of every step. Just contact us…
☎️ CALL : 1260 press 36
👉Messenger: m.me/CHEWA.RENUE
👉 LINE : @Chewa.renue
….

related articles

Compare listings

Compare
en_USEnglish